วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2552


อันนี้ต้องขอขอบคุณ Website/blog ต่างๆ ที่นำเสนอข้อมูลดีดี มาให้เราดูกัน
ทางเราจึงขอรวบรวมข้อมูลที่มีสาระเหล่านี้ ให้มาอยู่ในที่เดียวกันเพื่อให้หาง่าย / I must thank for website / blog , which presented information , the way we gather information that is the essence these, as well as in the same period last year in order to find easy

สาระที่ 1 ระบบสุริยะจักรวาล




ระบบสุริยะ ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่นๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ เช่น ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และดาวบริวาร โลกเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 3 โดยทั่วไป ถ้าให้ถูกต้องที่สุดควรเรียกว่า ระบบดาวเคราะห์ เมื่อกล่าวถึงระบบที่มีวัตถุต่างๆ โคจรรอบดาวฤกษ์ ดังเช่นดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ /the solar system, coupled with the sun and objects other its orbit around the sun, an asteroid,at least comet and satellite world as an asteroid that is far from the sun is the third generally if it is the most should be called the planet, said the system that is an object of its orbit around the star as an asteroid that its orbit around the sun


คำว่า "ระบบสุริยะ" ควรใช้เป็นคำเฉพาะกับระบบดาวเคราะห์ที่มีโลกเป็นสมาชิก และไม่ควรเรียกว่า "ระบบสุริยะจักรวาล" อย่างที่เรียกกันติดปาก เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับคำว่า "จักรวาล" ตามนัยที่ใช้ในปัจจุบันนี้ / The word "the solar system, "should be used only to be the words planet system that is a member of the world and should not be called "the solar system, the universe, as they call in his mouth because there is no connection with the words ", of the universe, in accordance with the words used in the current.


วัตถุในระบบสุริยะ ระบบสุริยะประกอบไปด้วยวัตถุจำนวนมากและมีอยู่หลากหลายประเภท บางอย่างไม่สามารถจำแนกประเภทได้อย่างชัดเจนอย่างที่เคยทำได้ในอดีต อาจแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้ /object in the solar system of the solar system, which has with an object of, and there are a variety of something not be divided into categories, clearly that had made in the past may be divided into categories, are as follows:


- ดวงอาทิตย์ เป็นดาวฤกษ์ที่มีชนิดสเปกตรัม G2 มีมวลประมาณ 99.86% ของทั้งระบบ /The sun is a Star is a kind of spectrum G 2 a mass around 99.86 percent of the system.


- ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะมี 8 ดวง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และ ดาวเนปจูน / planet in the solar system, there are 8 2,519 include mercury Venus, Mars Jupiter Saturn uranus and Neptune


- ดาวบริวาร คือ วัตถุที่โคจรรอบดาวเคราะห์ / satellite is an object that its orbit around the planet


- ขยะอวกาศที่โคจรรอบโลก เป็นชิ้นส่วนของจรวด ยานอวกาศ หรือดาวเทียมที่มนุษย์สร้างขึ้น /Trash space at its orbit around the world is a spaceship parts of the missile or satellite with man-made

- ฝุ่นและอนุภาคขนาดเล็กอื่นๆ ที่ประกอบกันเป็นวงแหวนโคจรรอบดาวเคราะห์ /dust and other small particles that consist of a ring its orbit around the planet


- ซากจากการก่อตัวของดาวเคราะห์ เป็นเศษฝุ่นที่จับตัวกันในยุคแรกที่ระบบสุริยะก่อกำเนิด อาจหมายรวมถึงดาวเคราะห์น้อยและดาวหาง /a dead body from the formation of the planet is a fraction dust on the other hand, in the first era of solar system, generator might include asteroid and comet

- ดาวเคราะห์น้อย คือ วัตถุที่มีขนาดเล็กกว่าดาวเคราะห์ ส่วนใหญ่มีวงโคจรไม่เกินวงโคจรของดาวพฤหัสบดี อาจแบ่งได้เป็นกลุ่มและวงศ์ ตามลักษณะวงโคจร /asteroid is an object is a small planet most than orbit no more than orbit of Jupiter may can be divided into a house in accordance with the group and the orbit

- ดาวบริวารดาวเคราะห์น้อย คือ ดาวเคราะห์น้อยขนาดเล็กที่โคจรรอบดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดใหญ่กว่าหรืออาจมีขนาดพอๆ กัน /satellite planetoid is asteroid small its orbit around the planet less than a large size or may have equally

- สะเก็ดดาว คือ ดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดเท่าก้อนหินขนาดใหญ่ลงไปถึงผงฝุ่น /Meteor is asteroid the size of the rock large down to the dust

- ดาวเคราะห์น้อยทรอย คือ ดาวเคราะห์น้อยที่มีวงโคจรอยู่ในแนววงโคจรของดาวพฤหัสบดีที่จุด L4 หรือ L5 อาจใช้ชื่อนี้สำหรับดาวเคราะห์น้อยที่อยู่ที่จุดลากรางจ์ของดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ด้วย /asteroid, Mark is asteroid orbits, which is in the orbit of Jupiter on the spot L 4 or 5 L may use the name for this asteroid on the spot on the track, drag and drop in the character of the planet others with

- ดาวหาง คือ วัตถุที่มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นน้ำแข็ง มีวงโคจรที่มีความรีสูง โดยปกติจะมีจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดอยู่ภายในวงโคจรของดาวเคราะห์วงใน และมีจุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุดห่างไกลเลยวงโคจรของดาวพลูโต ดาวหางคาบสั้นมีวงโคจรใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่านี้ อย่างไรก็ตาม ดาวหางที่มีอายุเก่าแก่มักสูญเสียน้ำแข็งไปหมดจนกลายเป็นดาวเคราะห์น้อย ดาวหางที่มีวงโคจรเป็นรูปไฮเพอร์โบลา อาจมีกำเนิดจากภายนอกระบบสุริยะ /comet is an object that is most elements are ice is orbit that is, will be boosted by high-point near the sun most of planetary orbits within the band and a planet points so far the most far from me the sun orbit of Pluto comet borderline short orbit near the sun, however, more than this comet that is often lost old ice, and become a comet asteroid orbits that is a true ปไฮ Pearlie Ebola virus, may have their origin from outside the solar system,

- เซนทอร์ คือ วัตถุคล้ายดาวหางที่มีวงโคจรรีน้อยกว่าดาวหาง มักอยู่ในบริเวณระหว่างวงโคจรของดาวพฤหัสบดีและดาวเนปจูน //zentor object like a comet orbits, which is less than comet often tend to be in the area between orbit of Jupiter and Neptune

- วัตถุทีเอ็นโอ คือ วัตถุที่มีกึ่งแกนเอกของวงโคจรเลยดาวเนปจูนออกไป อาจแบ่งย่อยเป็น/ object. and entertainment, is an object that is semi-axis captain of the orbit of Neptune, there may be divided into a small

- วัตถุแถบไคเปอร์ มีวงโคจรอยู่ระหว่าง 30 ถึง 50 หน่วยดาราศาสตร์ คาดว่าเป็นที่กำเนิดของดาวหางคาบสั้น บางครั้งจัดดาวพลูโตเป็นวัตถุประเภทนี้ด้วย นอกเหนือจากการเป็นดาวเคราะห์ จึงเรียกชื่อวัตถุที่มีวงโคจรคล้ายดาวพลูโตว่าพลูติโน /Cryper tap object is orbits, between 30 to discuss it is expected that 50 units is the origin of comet borderline short sometimes held Pluto is an object of this, in addition to the planet is called an object that orbits like a Pluto, clove, non

- วัตถุเมฆออร์ต คือ วัตถุที่คาดว่ามีวงโคจรอยู่ระหว่าง 50,000 ถึง 100,000 หน่วยดาราศาสตร์ ซึ่งเชื่อว่าเป็นถิ่นกำเนิดของดาวหางคาบยาว /material cloud organ builder, is the object is expected to be orbits, between 50,000 to 100,000 units astronomy, believe that the origin of the comet carry long

- เซดนา วัตถุที่เพิ่งค้นพบเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งมีวงโคจรเป็นวงรีสูงมาก ห่างดวงอาทิตย์ระหว่าง 76-850 หน่วยดาราศาสตร์ ไม่สามารถจัดอยู่ในประเภทใดได้ แม้ว่าผู้ค้นพบให้เหตุผลสนับสนุนว่ามันอาจเป็นส่วนหนึ่งของเมฆออร์ต /Sedna, object, which had just discovered recently, which is a circle orbits, very high between the sun from 76-850 units astronomers could not be held in any type of them, though the discovered the reason that it may be a part of the clouds, organ;

- ฝุ่นซึ่งกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในระบบสุริยะ อาจเป็นสาเหตุของปรากฏการณ์แสงจักรราศี ฝุ่นบางส่วนอาจเป็นฝุ่นระหว่างดาวที่มาจากนอกระบบสุริยะ /dust, scattered in the solar system, may be the cause of the phenomenon light zodiac dust some may be a dust between stars come from outside the solar system.







ดาวนิบิรุ ดาวดวงใหม่ ที่แทรกอยู่ในระบบสุริยะ





(อาจจะต้องใช้พิจารณญาณในการอ่านเยอะหน่อย)









เรื่องนี้คือเรื่อง ดาวปริศานาดวงที่ 12 ของ ระบบสุริยะจักรวาลถ้าใครได้พอดูความปี 2002 จะได้ทราบว่า นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบ ดาวดวงที่ 12 ขึ้นมาอยู่ในระบบกาแล็คซี่เราดื้อๆแต่ความเป็นจริงนักดาราศาสตร์รู้จักดาวนี้มาตั้งแต่ปี 1982 แล้วซึ่งเป็นข่าวใหญ่โตมากช่วงเดือน พฤษภาคม มันคือดาวที่มีชื่อตั้งทางวิทยาศาตร์ว่า นิบิรุ (Nibiru)






และด้วยหลักฐานโบราณวัตถุและนักโบราณคดีได้กล่าวไว้เนืองๆ ว่า...สิ่งของที่ไม่สามารถอธิบายด้วยวิทยาศาสตร์ได้เกิดจากดาวดวงนี้แต่สิ่งที่เรารับรู้คือเจอดาวเคราะห์ดวงใหม่ แล้วก็จบ...






ทำไมถึงกล่าวอ้างเช่นนั้น?ิสิ่งที่เราไม่รู้มัน คือ ดาวดวงนี้ทุนเดิมไม่ได้อยู่ในระบบกาแล็คซี่ทางช้างเผือกมาแต่เนิ่นๆ อยู่แล้วแต่... มีวงโคจรกว้างใหญ่ไพศาลมาก จนมาทับซ้อนลงบนกาแล็คซี่นี้แปลว่า... ที่นักวิทยาศาสตร์เห็นเพิ่มมาดวงก็แปลว่ามันโคจรเข้ามาใกล้กาแล็คซี่เราสินะ ถูกครึ่งเดียว ความจริงมันเเข้ามาทับวงโคจรทั้งแถบเลยและทับเข้ามาแค่ไหนเส้นทางการเดินทางของวงโคจรดาว นิบิรุ เข้ามาทับเส้นเดียวกับโลกเลย แปลว่า... มันมีสิทธิชนโลกเราอย่างแน่นอน!!!

และสำหรับคนที่อยากเห็นแต่ไม่มีตังไปออสเตรเลียหรือประเทศอะไรที่อยู่ทางใต้ของโลกแนะนำให้ลองใช้โปรแกรม googleSky ดู ท่านจะเห็นเป็นวงแดงๆ อยู่วงเดียวทั้งท้องฟ้า นั่นหละ นิบิรุ...


แล้วทำไม? มันเกี่ยวอะไรกับโบราณสถานและวัตถุในอดีตหละนักโบราณฯ สันนิษฐานว่า นิบิรุเคยโคจรเข้ามาใกล้ทีนึงแล้วในเมื่อหลายแสนปีก่อนแต่มารอบนี้ มาเทียบและทาบวงโคจรของดาวนิบิรุ คาดว่ามีโอกาสที่จะชนกันสูงหรือแม้เฉียดกันก็เกิดอันตรายเพราะแกนของดาวมีสนามแม่เหล็กอยู่ อาจจะทำให้เกิดสภาพอากาศแปรปรวน เกิดภัยพิบัติธรรมชาติเกิดภาวะน้ำขึ้นกระทันหัน เกิดพายุต่างๆ นาและเค้าคาดการณ์ไว้แล้วว่า ปี 2012 เราสามารจะเห็นดาวนิบิรุ ใหญ่ขนาดดวงอาทิตย์ได้เลย เพราะมันเข้าใกล้เรามากแล้ว ข้อมูลอาจจะยังไม่แน่นพอ เพราะ NASA ปิดข่าว แต่นักดาราศาสตร์ออกมาอธิบายเรื่องทฤษฎีความเป็นไปได้กันอย่างจ้าละหวั่นข้อมูลที่ยังขัดแย้งกันอยู่คือ บางแหล่งบอก ดาวฤกษ์ และ อุกกาบาต เพราะขนาดของมันใหญ่กว่าดาวพฤหัส 2 เท่า!!!(ดาวพฤหัสเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบนี้)



ถ้าหากเป็นเช่นนี้จริง มันก็คงเป็นไปตามหลักธรรมชาติ มีเกิด ต้องมีดับ ไม่มีอะไรคงทน เพียงแต่ว่าชะตาที่โลกจะสูญสิ้น มันจะมาในรูปแบบไหน??? เมื่อไหร่??? อีกนานแค่ไหน??? และ อาจจะไม่ใช่เพราะดาวนิบิรุก็ได้ อาจเป็นมนุษย์เราเนี่ยแหล่ะ !!! ที่เป็นตัวการทำให้ธรรมชาติแปรปรวน จนเกิดการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็ก แล้วดึงดูด วงโคจรของดาวดวงอื่นเขามาใกล้โลกเรา.......แล้วกัน!!!ไปกันใหญ่เลยเรา









รูปดาวนิบิรุ (ตรงลูกศรชี้)

รูปดาวนิบิรุ (ตรงลูกศรชี้)

ขนาดของดาวนิบิรุที่เพิ่มขนาดขึ้น

ขนาดของดาวนิบิรุที่เพิ่มขนาดขึ้น

สาระอีกนิด

ในปี 2549 นักดาราศาสตร์ชั้นนำของโลกพร้อมใจกันปลดดาวพระยม หรือ ดาวพลูโต ออกจากดาวนพเคราะห์ของสุริยะจักรวาลแล้ว จำนวนดาวนพเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาลจาก 9 ดวงเหลือเพียง8 ดวงที่ประชุมนักดาราศาสตร์ ของสหภาพนักดาราศาสตร์นานาชาติ หรือ The International Astronomical Union's (IAU) ประมาณ 2,500 คน ซึ่งร่วมประชุมกันที่กรุง ปร๊าก สาธารณรัฐเช็ก เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ได้มีมติถอนดาวพลูโต ออกจากการเป็นดาวบริวารของดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะจักรวาล โดยอ้างว่า ดาวพลูโต ไม่ได้มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์เหมือนกับดาวเคราะห์บริวารอื่นๆ และเตรียมจัดฐานะให้ดาวพลูโต เป็นเพียงดาวเคราะห์แคระ ส่งผลให้ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล ที่ยอมรับโดยนักดาราศาสตร์นานาชาติ เหลือเพียง 8 ดวงเท่านั้น และจะส่งผลต่อแบบเรียนและฐานข้อมูลทางวิชาการ ที่ยอมรับกันมาโดยตลอดว่า ดาวพลูโต เป็นดาวเคราะห์บริวารดวงที่ 9 ในระบบสุริยะจักรวาล ทั้งนี้ ดาวพลูโต ถูกค้นพบโดย Clyde Tombaugh ชาวสหรัฐ เมื่อปี 1930

ดาวดวงที่ 10

ดาวดวงที่ 10
********************************************************

ดาวเคราะห์ดวงที่ 10 ของระบบสุริยะ
นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบวัตถุในระบบสุริยะที่มีขนาดใหญ่กว่าพลูโต พวกเขาเรียกมันว่าดาวเคราะห์ดวงที่สิบ แต่การกล่าวอ้างนี้ยังคงต้องพิสูจน์ต่อไปเมื่อขนาดของวัตถุใหม่ยังไม่เป็นที่แน่ชัดนัก แต่น่าจะสอดคล้องกับนิยามของการเป็นดาวเคราะห์ เป็นครั้งแรกที่มีการค้นพบวัตถุที่มีขนาดใหญ่อย่างนี้ในระบบสุริยะของเราตั้งแต่มีการค้นพบพลูโตเมื่อ 75 ปีก่อน การประกาศโดย Mike Brown นักดาราศาสตร์ดาวเคราะห์จากแคลเทค(Caltech) เกิดขึ้นหลังจากการประกาศการค้นพบวัตถุใหม่ที่คล้ายพลูโตแต่มีขนาดเล็กกว่าเพียงชั่วโมงเดียว ซึ่งได้สร้างความสับสนให้กับนักดาราศาสตร์และสื่อมวลชนมาก วัตถุใหม่ได้ชื่อชั่วคราวว่า 2003 UB313 อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์ มากกว่าพลูโตสองเท่า ก่อนหน้านี้ทีมของ Brown เคยค้นพบวัตถุในแถบไคเปอร์ทั้งเซดน่า(Sedna), ควาโออาร์(Quaoar) และออร์คัสหรือ 2004 DW ก่อนจะพบ 2003 UB313 เซดน่าเคยครองตำแหน่งวัตถุที่อยู่ไกลที่สุดในระบบเท่าที่เคยสำรวจมาด้วยระยะทางใกล้ที่สุด 76 AU และขณะนี้มันอยู่ไกลจากดวงอาทิตย์ 91 AU และในตำแหน่งที่ไกลที่สุดที่ 943 AU ด้วยวงโคจรที่กินเวลา 11500 ปี Brown กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า มันใหญ่กว่าพลูโตแน่นอน วัตถุนี้กลมและอาจมีขนาดใหญ่เป็นสองเท่าของพลูโต เขาประเมินไว้ที่ 2100 ไมล์(ประมาณ 3300 กิโลเมตร) ประมาณ 1.5 เท่าเส้นผ่าศูนย์กลางของพลูโต วัตถุดังกล่าวหมุนรอบเอียง 45 องศาจากระนาบของระบบสุริยะซึ่งเป็นระนาบโคจรของดาวเคราะห์ส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้มันหลุดรอดสายตาไม่ถูกค้นพบจนกระทั่งขณะนี้ นักดาราศาสตร์บางคนอาจจะเรียกมันว่าวัตถุในแถบไคเปอร์(Kuiper belt object) ไม่ใช่ดาวเคราะห์ แถบไคเปอร์เป็นบริเวณที่อยู่ของวัตถุเยือกแข็งที่อยู่เลยวงโคจรของเนปจูนออกไป พลูโตเองก็ถูกเรียกว่าวัตถุในแถบไคเปอร์โดยนักดาราศาสตร์บางคนด้วยเช่นกัน ตัวของ Brown เองก็เคยต้องการให้ปลดพลูโตออกจากการเป็นดาวเคราะห์ เนื่องจากขนาดที่เล็กและวงโคจรที่เอียงและรีของมัน แต่ตอนนี้เขาก็ติดกับดักเดียวกัน เขาบอกว่า พลูโตเป็นดาวเคราะห์มาตั้งนานเพราะโลกคุ้นเคยกับมันในฐานะนั้น ด้วยตรรกะนี้ อะไรก็ตามที่ใหญ่กว่าพลูโตและไกลกว่าก็ต้องเป็นดาวเคราะห์ด้วย ทีมของเขาได้วิเคราะห์พื้นผิวเมื่อเดือนกุมภาพันธ์และผลสรุปเบื้องต้นบอกว่า 2003 UB313 ดูเหมือนจะมีพื้นผิวเป็นน้ำแข็งมีเธนเหมือนพลูโต ซึ่งไม่เหมือนกับวัตถุในแถบไคเปอร์ขนาดใหญ่ดวงอื่นๆ Brown กล่าวว่า วัตถุนี้จัดว่าคล้ายกับพลูโตมาก นาซ่าเห็นด้วยที่จะเรียกวัตถุนี้ว่าเป็นดาวเคราะห์ดวงที่สิบ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีการค้นพบวัตถุหลายดวงที่มีขนาดตั้งแต่ครึ่งหนึ่งจนถึงสามในสี่ของพลูโต ขณะนี้โลกใบใหม่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์ 97 AU และอยู่ไกลที่สุดจากตำแหน่งวงโคจรที่กินเวลา 560 ปี และอีก 280 ปีข้างหน้ามันจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดที่ระยะ 56 AU 2003 UB313 กลายเป็นวัตถุที่อยู่ไกลที่สุดเท่าที่เคยพบมา และเป็นวัตถุในแถบไคเปอร์ที่สว่างที่สุดลำดับที่สาม แน่นอนว่ามันต้องเย็นกว่าพลูโตและคงไม่ใช่ที่ที่น่าอยู่ 2003 UB313 ถูกค้นพบโดยกล้องโทรทรรศน์ซามูเอล ออสชิน ที่หอสังเกตการณ์พาโลมาร์ Brian Marsden จากศูนย์ดาวเคราะห์ย่อย(Minor Planet Center) ซึ่งรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเทหวัตถุทั้งหลาย กล่าวว่าถ้าพลูโตเป็นดาวเคราะห์ดังนั้นวัตถุกลมที่มีขนาดใกล้เคียงกับพลูโตก็ต้องเรียกว่าดาวเคราะห์ด้วย ด้วยตรรกะนี้ 2003 UB313 ก็อาจจะเป็นดาวเคราะห์แต่ต้องรอหน่อย ส่วนตัวเขาเองบอกว่าผมยังไม่เรียกมันว่าเป็นดาวเคราะห์ดวงที่สิบ Alan Boss นักทฤษฏีการก่อตัวดาวเคราะห์ที่สถาบันคาร์เนกี้แห่งวอชิงตัน เรียกการค้นพบนี้ว่าก้าวสำคัญ แต่ Boss ก็ไม่เรียกมันว่าดาวเคราะห์แต่อย่างใด เขาบอกว่าพลูโตและวัตถุขนาดเล็กอื่นๆ ที่อยู่เลยเนปจูนควรจะถูกเรียกว่าดาวเคราะห์ในแถบไคเปอร์(Kuiper belt planets) Boss ให้สัมภาษณ์ว่า การจะเรียกพวกมันว่าดาวเคราะห์จะต้องเป็นเหมือนพวกตัวใหญ่ๆในระบบสุริยะ ในขณะนี้คำนิยามที่แน่นอนสำหรับการเป็นดาวเคราะห์ถูกหยิบยกโดย Boss และคนอื่นๆ ในทีมของสหพันธ์ดาราศาสตร์นานาชาติ(IAU) Boss บอกว่าทีมยังคงไม่ได้ข้อยุติหลังจากถกกันมาหกเดือนแล้ว การถกเถียงนี้เริ่มขึ้นเมื่อกว่าห้าปีก่อน และเกิดขึ้นจากที่นักดาราศาสตร์ไม่มีข้อจำกัดความเกี่ยวกับดาวเคราะห์ เนื่องจากเรารู้จักแค่เก้าดวงเท่านั้น Alan Stern จากสถาบันวิจัยเซาท์เวสต์ และผู้นำทีมปฏิบัติการ New Horizons สู่พลูโต ได้เคยทำนายไว้ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 ว่าจะต้องมีพลูโตอีกพันดวงอยู่แถวๆนั้น เขายังบอกว่า(จากแบบจำลองคอมพิวเตอร์) ควรจะมีโลกขนาดเท่าดาวอังคารซ่อนตัวอยู่ในแดนที่ห่างไกลและบางทีอาจจะใหญ่จนมีขนาดเท่าโลกของเราได้ เขากล่าวถึงการค้นพบ 2003 UB313 ว่าค่อนข้างพอใจ นี้เป็นสิ่งที่เรามองหามานาน เขายังคงยืนยันการทำนายของเขาและคาดว่าจะพบวัตถุขนาดเท่าดาวอังคารภายในไม่กี่สิบปีนี้ สิ่งที่สำคัญสำหรับการค้นพบวัตถุก้อนนี้ก็คือนักดาราศาสตร์สมัครเล่นที่มีกล้องดูดาวขนาดใหญ่(ตั้งแต่ 14 นิ้วพร้อมทั้ง CCD) สามารถหามันพบได้ Brown กล่าวว่า มันจะเห็นได้ในอีกหกเดือนข้างหน้าและอยู่เกือบกลางศีรษะบนท้องฟ้าช่วงเช้ามืด ในกลุ่มดาวเซตุส(Cetus) ด้วแมกนิจูดประมาณ 18 ทีมของ Brown ประกอบด้วย Chad Trujillo จากหอสังเกตการณ์เจมิไนที่มัวนาคีในฮาวาย และ David Rabinowitz จากมหาวิทยาลัยเยล ทำการค้นพบในวันที่ 8 มกราคม ทีมหวังที่จะวิเคราะห์ข้อมูลก่อนหน้าจะประกาศการค้นพบแต่ถูกบังคับให้ประกาศการค้นพบเมื่อวันที่ 29 กรกฏาคม เนื่องจากเวบไซท์ถูกเจาะ Brown และ Trujillo ได้ถ่ายภาพดาวเคราะห์ดวงใหม่เป็นครั้งแรกด้วยกล้องโทรทรรศน์ซามูเอล ออสชิน ขนาด 48 นิ้วเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2003 อย่างไรก็ตาม วัตถุนี้อยู่ไกลมาก การเคลื่อนที่ของมันจึงไม่ถูกตรวจพบจนกระทั่งพวกเขาวิเคราะห์ข้อมูลอีกครั้งเมื่อเดือนมกราคมปีนี้ ในช่วงเจ็ดเดือนต่อมา นักดาราศาสตร์กลุ่มนี้ก็พยายามศึกษาดาวเคราะห์เพื่อจะประเมินขนาดและการเคลื่อนที่ให้ดีขึ้น โดยทั่วไปนักวิทยาศาสตร์ประเมินขนาดของวัตถุจากความสว่างและระยะทาง แต่ยังคงไม่ทราบการสะท้อนแสงของดาวเคราะห์ใหม่นี้ ซึ่งเป็นเหตุให้การประเมินเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ตั้งแต่หนึ่งจนถึงสองเท่าของพลูโต Brown กล่าวว่า แม้ว่ามันจะสะท้อนแสง 100 % มันก็ยังมีขนาดใหญ่เท่าพลูโต แต่ผมบอกได้ว่ามันน่าจะมีขนาดประมาณ 1.5 เท่าพลูโต แต่เรายังคงไม่แน่ใจขนาดที่แน่นอน แต่พวกเขาเชื่อมั่นว่ามันจะเป็นวัตถุดวงแรกที่ใหญ่กว่าพลูโตเท่าที่เคยพบในระบบสุริยะส่วนนอก ขีดจำกัดมวลขั้นสูงมาจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ ซึ่งตรวจจับความร้อนในรูปอินฟราเรด เนื่องจากสปิตเซอร์ไม่สามารถจับภาพดาวเคราะห์ดวงนี้ได้ เส้นผ่าศูนย์กลางจะต้องน้อยกว่า 3000 กิโลเมตร Brown กล่าว ทีมของเขาเสนอชื่อกับ IAU และตัดสินใจจะไม่เปิดเผยชื่อจนกว่าจะได้รับการรับรองว่าเป็นดาวเคราะห์ นอกจากนี้ทีมยังวางแผนจะทำการสำรวจด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลในอีกไม่นานนี้ อนึ่งก่อนหน้าการประกาศการค้นพบ 2003 UB313 ทีมของ Brown เพิ่งประกาศการค้นพบ 2003 EL61 ซึ่งเป็นวัตถุที่อยู่ไกลออกไปประมาณ 52 AU และเคยถูกค้นพบโดย Jose-Luis Ortiz นักดาราศาสตร์ที่ใช้หอสังเกตการณ์เซียร์ร่า เนวาด้า ในสเปนมาก่อน มันดูเหมือนจะเป็นวัตถุที่ใหญ่ที่สุดอันดับสามในแถบไคเปอร์ ด้วยขนาดประมาณ 70% ของพลูโต(ประมาณ 1500 กิโลเมตรใหญ่รองจากพลูโตและ 2003 UB313) ทีมของ Brown พบมันในวันที่ 28 ธันวาคม 2004 ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเล่นว่า Santa ยิ่งกว่านั้นจากการสำรวจด้วยกล้องเคกในเดือนมกราคม 2005 ยังพบว่า 2003 EL61 มีดาวบริวารขนาดเล็กโคจรรอบด้วย ดาวบริวารดูเหมือนจะใช้เวลา 49 วันเพื่อโคจรครบรอบด้วยวงโคจรเกือบกลมที่ระยะ 49,500 กิโลเมตรจากวัตถุหลัก ระบบเทหวัตถุคู่เช่นนี้ช่วยให้นักดาราศาสตร์สามารถคำนวณมวลของ 2003 EL61 ได้ที่ประมาณหนึ่งในสี่ของพลูโต(ประมาณ 4*1018 ตัน) ส่วนดาวบริวารมีมวลเพียง 1% ของมวลรวมของระบบเท่านั้น 2003 EL61 ใช้เวลาครึ่งหนึ่งของคาบการโคจรอยู่เลยวงโคจรของพลูโตออกไป และอีกครึ่งอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าพลูโต ทีมของ Brown ยังสำรวจ 2003 EL61 ด้วยสปิตเซอร์เมื่อวันที่ 22 กรกฏาคมด้วย การสำรวจยังคงอยู่ในช่วงวิเคราะห์ผล แต่ Brown บอกว่าสเปคตรัมดูเหมือนจะมีน้ำที่เป็นน้ำแข็ง มันจึงดูคล้ายกับดวงจันทร์คารอน(Charon) ของพลูโตมาก